Episodes

Thursday Apr 30, 2020
Thursday Apr 30, 2020
ใน Techsauce Podcast วันนี้เราจะมาคุยกับ คุณวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ Founding Director, Concordian International School กับอนาคตการศึกษาไทย ประเทศไทยต้องปรับปรุงตรงไหน บุคลากรต้องพัฒนาอย่างไร ทักษะที่เด็กต้องเรียนรู้มากกว่าในห้องเรียนมีอะไร พร้อมบทเรียนที่คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ใช้สอนลูก

Tuesday Apr 28, 2020
TS EP.38 บริหารและสื่อสารกับพนักงานยามวิกฤต แบบ AP
Tuesday Apr 28, 2020
Tuesday Apr 28, 2020
ผู้บริหารจะบริหารและสื่อสารกับพนักงานในยามวิกฤตอย่างไร ชวนฟังจากผู้บริหารบริษัทชั้นนำด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยกับ คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท AP Thailand

Monday Apr 27, 2020
Monday Apr 27, 2020
[Podcast-Techsauce] - 28 Apr 2020
[วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม ฟื้นชีพจาก COVID-19 อย่างไร Pt.2]
.
เมื่อโรงแรมวางกลยุทธเชิงรุกเพื่อรับมือสถานการณ์ในระยะสั้นแล้ว สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปคือเทรนด์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งจากความต้องการของผู้บริโภคเองและการกำหนดแผนโดยภาคนโนบายที่จะมีส่วนชี้แนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว
.
นอกจากการเตรียมเทคโนโลยีให้พร้อมแล้ว การนำเสนอรูปแบบบริการและแพคเกจโปรโมชั่นเองก็สำคัญสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวในยามนี้ โดยเฉพาะการออกแบบแพคเกจการจองห้องพักที่ยืดหยุ่นขึ้น ทั้งการยกเลิกการจองห้องพักได้ตลอดเวลา การเลื่อนกำหนดการใช้บริการได้ หรือแม้แต่การขายแพคเกจซื้อก่อนพักทีหลัง ก็พอช่วยประคองกิจการไปได้
.
ตัวอย่างหนึ่งที่เราพอจะเรียนรู้ได้ คือการปลด Lockdown ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนและเกาหลีใต้ โดยพบว่าประชาชนกลับมาเดินทางอย่างรวดเร็ว แต่เป็นไปด้วยระยะทางที่สั้นลง ซึ่งจากตัวเลขพบว่าช่วงระยะทางที่ประชาชนเดินทางมากที่สุดอยู่ที่ไม่เกิน 500 ไมล์หรือประมาณ 800 กว่ากิโลเมตร อันเป็นระยะเดินทางที่สั้นและอาจเป็นแค่ภายในประเทศ
.
ดังนั้น เทรนด์ที่จะตามมาคือเรื่องของการท่องเที่ยวแบบ Local ที่น่าจะเป็นโอกาสสำหรับร้านอาหารและที่พักท้องถิ่น โดยการปรับตัวหลักนอกจากจะต้องรองรับบริการแล้ว ยังต้องปรับตัวเพิ่มเติมในเรื่องของ “สุขอนามัย” ที่จะกลายเป็นเทรนด์สำคัญของผู้บริโภคไปตลอดกาล
.
ด้านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเองก็มีการเตรียมแผนการรองรับมากมายเพื่อเพิ่มอัตราการท่องเที่ยวอันเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยมีแคมเปญทั้งกับชาวไทยและชาวต่างชาติ

Monday Apr 27, 2020
Monday Apr 27, 2020
หลายคนคงคุ้นเคยกับแผนผัง Business Model Canvas เป็นอย่างดี เครื่องมือที่คิดค้นโดย Alex Osterwalder นี้ถือป็นหนึ่งในแม่แบบทางความคิดสำคัญในการสร้างนวัตกรรมขององค์กรต่างๆ ชวนฟังเคสการประยุกต์ใช้เครื่องมือนี้ในองค์กรจริงจาก คุณนิรันดร์ บันลือรัตน์ Strategyzer Innovation Coach และ Co-Founder ของ Chivit-D Platform บริษัท SCG คุณนิรันด์ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมคลาส และร่วมงานกับ Alex Osterwalder อยู่หลายครั้ง จะถอดสิ่งที่ได้เรียนรู้และตกผลึกเป็นบทเรียนมาเล่าให้เราฟังใน Podcast episode นี้

Sunday Apr 26, 2020
Sunday Apr 26, 2020
[Podcast-Techsauce Daily] EP25 - 27 Apr 2020
Podcast Series จาก Techsauce คุยประเด็นเศรษฐกิจและธุรกิจประจำวัน ช่วงสถานการณ์ COVID-19
[วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม ฟื้นชีพจาก COVID-19 อย่างไร Pt.1]
.
ธุรกิจโรงแรมถือว่าได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งผลกระทบก็ยังคงต่อเนื่องมาจนวันนี้ ทั้งแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมซึ่งต้องถูกยกเลิกจ้าง เจ้าของกิจการที่ต้องแบกค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง แต่ธุรกิจกลับยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างแน่นอนในระยะสั้น
.
สิ่งที่ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถทำได้คือการ “ทำงานเชิงรุก” ทั้งในแง่การปฏิบัติการและการทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งทีมเฉพาะเพื่อดูแลสถานการณ์ COVID-19 และคอยประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารสุข การทำการตลาดเองก็ยังคงต้องการความต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้ใช้บริการหลังจากผ่านพ้นวิกฤต
.
นอกจากนี้ การควบคุมต้นทุนและการหาโอกาสใหม่ๆ ในสภาวะที่ถูกบังคับก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำ ซึ่งทาง Techsauce ก็มีคำแนะนำจากผู้ประกอบการด้าน Hospitality อย่างคุณกวิน ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการบริษัท เฮอริเทจ เอสเตทส์ จำกัด มาเล่าให้ฟังกันด้วย
.
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
- ธุรกิจ Hospitality จะอยู่รอดได้อย่างไรกับวิกฤตการณ์ Covid-19
https://techsauce.co/exec-insight/hospitality-covid-19
- 11 แนวทางการบริหารจัดการโรงแรมในภาวะ COVID-19
https://techsauce.co/tech-and-biz/hotelman-crisismanagement

Friday Apr 24, 2020
Friday Apr 24, 2020
[Podcast-Techsauce Weekly] ประมวลเหตุการณ์รอบโลกในวงการ Tech & Biz ประจำสัปดาห์
[EP7 : The world after covid-19 : Future of Workforce วิกฤติและโอกาสอันฉับพลันของแรงงาน]
เมื่อเวลาผ่านไป ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ “แรงงาน” ที่ได้รับผลกระทบจาก Technology Disruption อยู่แล้ว ยังประสบปัญหา “ตกงานฉับพลัน” จากบาดแผลของธุรกิจ โดยตัวเลขจาก UN ที่ประเมินว่าจะมีคนได้รับผลกระทบถึง 3,300 ล้านคน รวมถึงจีนยังประเมินว่าแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมากในประเทศจะตกงานภายในปี 2025.
นอกจากตกงานฉับพลันแล้ว COVID-19 ยังเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจหันไปเร่งเครื่องการใช้ “หุ่นยนต์” ในทุกอุตสาหกรรม แต่ถึงแม้หุ่นยนต์จะตอบโจทย์ในแง่การผลิต กลับยังมีบางมุมที่ทำให้หุ่นยนต์ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ในระบบเศรษฐกิจได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงยังมีพื้นที่ให้คนทำงานทั้งหลายยังอยู่ในระบบเศรษฐกิจได้ เพียงแต่ต้องอาศับการปรับตัว ซึ่งเราจะต้องปรับตัวอย่างไร มาติดตามกันไปพร้อมกัน

Thursday Apr 23, 2020
Thursday Apr 23, 2020
[Podcast-Techsauce Daily] EP24 - 24 Apr 2020
Podcast Series จาก Techsauce คุยประเด็นเศรษฐกิจและธุรกิจประจำวัน ช่วงสถานการณ์ COVID-19
[Retail จะปรับตัวอย่างไร เมื่อการชอปปิ้งหลัง COVID-19 ไม่เหมือนเดิม]
การเข้ามาของ Digital ไม่ได้ Disrupt แรงเท่า COVID-19 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม Retail ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดเมืองและ Physical Distancing ล่าสุด Accenture ได้เผยแนวทางการปรับตัวของร้านค้าปลีกที่น่าสนใจ
.
Accenture ได้เสนอแนวคิดการปรับตัวของ Retail ไว้ 3 ประเด็น ได้แก่
.
1. Reassure การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและพนักงาน
2. Stablize ทำให้ระบบดิจิทัลของเรามีเสถียรภาพมากขึ้น
3. Reconfigure การปรับบริการ สินค้า และอื่นๆ ไปจนถึงการ Partnership และเข้าถึง Ecosystem ใหม่ๆ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้
.
อีกด้านหนึ่ง BrandIQ รายงานถึงสินค้าที่ขายดีในช่วง COVID-19 ที่สะท้อนเทรนด์การ Work from Home อย่างชัดเจน โดยเฉพาะบรรดาอุปกรณ์สำนักงานและคอมพิวเตอร์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 10 เท่า

Wednesday Apr 22, 2020
TSDaily EP.23 - รวมเทรนด์ New Normal จาก COVID-19 ที่ธุรกิจควรรู้ (23/04/2020)
Wednesday Apr 22, 2020
Wednesday Apr 22, 2020
เมื่อพูดถึงวิกฤติที่จำกัดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นหนีไม่พ้น ความปกติใหม่หรือ New Normal ที่มีผลกับธุรกิจทั่วโลก
.
จากบทวิเคราะห์ของ McKinsey & Company เผยว่า COVID-19 มีบทบาทในกำหนดการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ใหญ่ของโลกทั้งในด้านพฤติกรรม นโยบาย และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกระแสย้อนกลับของโลกาภิวัฒน์จากการงดเว้นการเดินทาง การเข้าแทรกแซงของรัฐเพื่อช่วยประคองระบบ เหล่านี้เป็นประเด็นพิจารณาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของธุรกิจ
.
ขณะเดียวกัน ในประเทศไทยเองก็มี New Normal ในบริบทของเศรษฐกิจและธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงไม่น้อย โดยบทวิเคราะห์ของ Futuretales เผยว่า คนจะทำทุกอย่างจากบ้านมากขึ้น ความสำคัญของเมืองจะเปลี่ยนไป ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการใหม่นี้
.
[7 ปัจจัยกำหนดทิศทาง New Normal โดย McKinsey]
.
1. ระยะทางนั้นจะกลับมา ผู้คนจะต่อต้านโลกาภิวัฒน์ (Anti-Globalization) มากขึ้น COVID-ระบาดทำให้เกิดประเด็นความเข้มงวดในการเดินทาง เพื่อควบคุมโรค อาจจะเป็นโอกาสของท้องถิ่น Supply Chain ในประเทศเลยมีความสำคัญมากขึ้น
.
2. ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพ ธุรกิจต่าง ๆ นั้นก็ยังที่จะต้องคิดหาวิธีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ ซึ่งต้องการ ‘ความยืดหยุ่น’ หรือคือความสามารถที่บริษัทนั้นจะเรียนรู้จากวิกฤติและกลับมาดำเนินธุรกิจได้ดีกว่าเดิม
.
3. การเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบไร้การติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นการค้าแบบดิจิทัล (Digital Commerce), การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และระบบอัตโนมัติ (Automation) ซึ่งการระบาดในครั้งได้พิสูจน์ถึงการเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหม่
.
4. การแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจ ในระหว่างการเกิดวิกฤติหลาย ๆ ครั้ง ประชาชนนั้นยอมที่จะถูกควบคุมจากรัฐมากขึ้น แต่เมื่อพ้นวิกฤติไปแล้ว รัฐบาลจะถอยจากการแทรกแซงขนาดไหน ใช้เวลานานแค่ไหน และจะทำอย่างไรกับบทบาทของตน
.
5. การตรวจสอบที่มากขึ้นในภาคธุรกิจ ในตอนนี้ประชาชนทั่วโลกอาจจะต้องเผชิญกับการจ่ายภาษีที่มากขึ้น และการบริการจากภาครัฐที่น้อยลง แทนจำนวนเงิน 10.6 ล้านล้านดอลลาร์ที่ได้ใช้ไปในตอนนี้ แน่นอนว่าประชาชนจะคาดหวังว่าเงินของพวกเขานั้นจะถูกใช้ไปกับประโยชน์โดยรวมของสังคมส่วนใหญ่
.
6. การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางอุตสาหกรรม, พฤติกรรมของผู้บริโภค, ตำแหน่งและความน่าดึงดูดของตลาด การระบาดของ COVID-19 นั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อทัศนคติของคนต่อการติดต่อกันทางกายภาพ, สุขภาพ และความเป็นส่วนตัว อย่างเช่น การตระหนักถึงเรื่องสุขภาพที่มากขึ้น อาจจะส่งผลต่อความต้องการของคนที่จะรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น
.
7. โอกาสในวิกฤติ สำหรับผู้นำด้านธุรกิจนั้น ตอนนี้หลาย ๆ ท่านอาจจะได้มองเห็นอะไรมากขึ้น เช่น การดำเนินงานแบบไหนที่สามารถที่ทำได้หรือทำไม่ได้นอกเหนือจากการทำงานแบบดั้งเดิม
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่
- 7 ปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางของ ‘New Normal’
https://techsauce.co/news/7-factors-that-will-shape-new-normal
- FutureTales เผย 10 New Normal ของคนไทย หลังพ้นวิกฤต COVID-19
https://techsauce.co/pr-news/futuretales-lab-by-mqdc-covid-19

Tuesday Apr 21, 2020
TSDaily EP.22 - เปิดมิติความสัมพันธ์ รัฐ-เอกชน (22/04/2020)
Tuesday Apr 21, 2020
Tuesday Apr 21, 2020
[Podcast-Techsauce Daily] EP22 - 22 Apr 2020
Podcast Series จาก Techsauce คุยประเด็นเศรษฐกิจและธุรกิจประจำวัน ช่วงสถานการณ์ COVID-19
[เปิดมิติความสัมพันธ์ รัฐ-เอกชน]
.
วานนี้ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกขอความร่วมมือกับ 20 ผู้นำอุตสาหกรรม โดยมีใจความสำคัญในการขอให้ลงมือทำโครงการที่จะสามารถช่วยเหลือคนไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเน้นไปในเชิงปกิบัติ และรัฐบาลจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านอื่นเพิ่มเติม ที่จะสามารถสร้างอิมแพคให้กับผู้มีส่วนได้เสียในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้
.
นอกจากไทยแล้ว สหรัฐฯ เองยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนมาก่อนหน้านี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การ “เปิดเมือง” เพื่อดำเนินธุรกิจได้โดยเร็ว แต่ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายก็มีเรื่องต้องเคลียร์ใจกันอีกไม่น้อย ทั้งการสื่อสารหลังจบประชุมที่สร้างความสับสนให้ CEO และความช่วยเหลือกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจกระทบธุรกิจขนาดเล็ก ก็ถือเป็นบทเรียนที่น่าศึกษาไม่น้อย
.
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือรัฐบาลไต้หวันและเกาหลีใต้ที่ดำเนินความร่วมมือกับภาคเอกชนตั้งแต่เริ่มต้นการแพร่ระบาด จนนำไปสู่การควบคุมสถานการณ์และพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า โดยพวกเขาขอความร่วมมือเอกชนตั้งแต่การผลิต การออกมาตรการควบคุมให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าอย่างทั่วถึง และช่วยเหลืออย่างจริงจังในเรื่องช่องทางจำหน่าย จนทำให้ประชาชนมีสินค้าเพียงพอ และยับยั้งปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

Monday Apr 20, 2020
TSDaily EP.21 - ราคาน้ำมันตลาดสหรัฐฯ ดิ่งตกเหวติดลบในรอบ 100 ปี (21/04/2020)
Monday Apr 20, 2020
Monday Apr 20, 2020
[Podcast-Techsauce Daily] EP21 - 21 Apr 2020
Podcast Series จาก Techsauce คุยประเด็นเศรษฐกิจและธุรกิจประจำวัน ช่วงสถานการณ์ COVID-19
[ราคาน้ำมันตลาดสหรัฐฯ ดิ่งตกเหวติดลบในรอบ 100 ปี]
เมื่อคืนนี้ในตลาดน้ำมัน WTI ของสหรัฐราคาน้ำมันซื้อขายล่วงหน้าร่วงหนักถึงขั้นติดลบกว่า 37.64 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หรือคิดเป็นกว่า 300% จากราคาเมื่อวันศุกร์ที่ 18.27 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 100 ปี
ราคาน้ำมัน Crude WTI Future ลดต่ำสุดในรอบ 18 ปีอยู่ที่ “ติดลบ 37.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ” ลดต่ำกว่า 300 เปอร์เซ็นต์จากราคาเมื่อวันศุกร์ที่ 18.27 ดอลลาร์สหรัฐฯ
.
สาเหตุจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายที่ผู้ค้าน้ำมันในสหรัฐฯ ส่งมอบน้ำมันดิบกำหนดส่งมอบเดือนพฤษภาคม แต่ไม่มีผู้ค้าน้ำมันในสหรัฐฯ มารับซื้อต่อเลย เพราะความต้องการใช้น้ำมันลดลงเนื่องจากการบริโภคที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
.
เมื่อของเก่ายังขายไม่หมด ของใหม่ซื้อไปก็ไม่มีที่เก็บ ราคาจึงขาดสภาพคล่อง ผู้ค้าต้องเอาตัวรอดด้วยการพยายามกดราคาขายลงมา ทำให้ราคาน้ำมันใน WTI ลดต่ำสุดถึงจุดติดลบในประวัติศาสตร์ เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อ อย่างน้อยก็ในปริมาณที่ได้ผลิตไว้แล้วสำหรับการส่งมอบในเดือนพฤษภาคม
.
ราคาของ WTI ส่งมอบเดือนพฤษภาคมนี้จะไม่กระทบราคาน้ำมันที่อื่นๆในโลก
เพราะสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันใช้ภายในประเทศเป็นหลัก และไม่มีท่อส่งออกมายังภูมิภาคอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ราคาของ WTI นั้นไม่สะท้อนตลาดโลก
.
ประธานาธิบดี Donald Trump ระบุว่า พร้อมจะเอาน้ำมันส่วนเกินประมาณ 75 ล้านบาร์เรล เข้าสู่แหล่งเก็บสำรองของประเทศ
.
แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ถือเป็นการสะท้อนเทรนด์การบริโภคในระดับโลก รวมถึงเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีผลต่อตลาดทุนบางแห่ง เราจึงต้องจับตาว่าสัญญาณนี้จะส่งผลกับราคาน้ำมันดิบ Brent ในยุโรปและเอเชียหรือไม่ รวมถึงการผลิตจากซาอุดิอารเบียกับรัสเซีย และการตอบรับจากตลาดทุนในเวลานี้